วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 6 การจัดการความเสี่ยง

💦การจัดการความเสี่ยง💦
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ความหมายของความเสี่ยง

        ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง เหตุการณ์/การกระทำใดๆ ที่มีความแน่นอนซึ่งหากเกิดขึ้นจะมีผลกระทบในเชิงลบ ต่อวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์การ หรือลดโอกาสที่จะบรรลุความสำเร็จต่อการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของแผนงาน/โครงการที่จะก้าวสู่พันธกิจ และวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้

        โอกาส (Opportunity) หมายถึง เหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งหากเกิดขึ้นจะมีผลกระทบในเชิงบวก ต่อวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์การซึ่งผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะได้ทบทวนถึงกลยุทธ์ที่เหมาะสมและแผนงานที่เหมาะสมใหม่ เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม  ให้กับองค์การนอกเหนือจากแผนงานและโครงการที่ได้กำหนดไว้แล้ว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กู้ภัย

ประเภทของความเสี่ยง

     ความเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคหรืออันตราย
      ความเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคหรืออันตราย คือ เหตุการณ์ในเชิงลบ/เหตุการณ์ไม่ดีที่หากเกิดขึ้นแล้วอาจเป็นอันตรายหรือสร้างความเสียหายต่อองค์การ เช่น ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การแข่งขันทางการตลาดทั้งสินค้าและบริการ การเปลี่ยนแปลงนโยบาย กลยุทธ์ ศักยภาพ ความสามารถของผู้บริหารและพนักงาน เป็นต้น

      ความเสี่ยงที่เป็นความไม่แน่นอน
       ความเสี่ยงที่เป็นความไม่แน่นอน คือ เหตุการณ์ที่ทำให้ผลที่องค์การได้รับจากการณ์ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ หรือการไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ กัน เช่น ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่างบประมาณที่กำหนดไว้ เป็นต้น

       ความเสี่ยงที่เป็นโอกาส
        ความเสี่ยงที่เป็นโอกาส คือ เหตุการณ์ที่ทำให้องค์การเสียโอกาสในการแข่งขัน การดำเนินงานและการเพิ่มมูลค่าของผู้มีผลประโยชน์ร่วม เช่น การไม่ส่งเสริมหรือพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในการปฏิบัติงาน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพขององค์การ เป็นต้น

สาเหตุแห่งความเสี่ยง
        
         ความเสี่ยงทุกประเภทเกิดขึ้นโดยมีเหตุแห่งความเสี่ยง (Risk Driver) ซึ่งอาจเป็นเหตุที่เกิดจากภายในองค์การ ผู้บริหารควรทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อธุรกิจและเหตุผลแห่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นมาตลอดเวลา เพื่อจะได้สามารถควบคุมได้อย่างเพียงพอและเหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น
         ความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยองค์การทั่วไปมักต้องเผชิญกับเหตุการณ์เหล่านี้ เช่น แผนงาน/โครงการใหม่ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ การลงทุนไม่ให้ผลตอบแทนตามที่คาดไว้ การละเลยกระบวนการทางธุรกิจ ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี คุณภาพหรือปัญหาข้อขัดข้องของกิจกรรมประมวลผลและระบบสารสนเทศ เป็นต้น ดังนั้น องค์การทั่วไปควรดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย แต่สามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่เป็นโอกาสในการเพิ่มคุณค่าให้กับองค์การ สิ่งที่ทำให้ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญหรือการกำหนดระดับความไม่แน่นอนที่องค์การยอมรับได้ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเพิ่มคุณค่าให้กับผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


แนวคิดการบริหารความเสี่ยง
        
        การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) เป็นกลวิธีที่เป็นเหตุผลที่นำมาใช้ในการบ่งชี้ วิเคราะห์ ประเมิน จัดการ ติดตาม และสื่อสารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม หน่วยงาน/ฝ่ายงาน หรือกระบวนการดำเนินงานขององค์การ เพี่อช่วยให้องค์การลดความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด และเพิ่มโอกาสให้แก่ธุรกิจมากที่สุด การบริหารความเสี่ยง ยังหมายความถึงการประกอบกันอย่างลงตัวของวัฒนธรรมองค์การ กระบวนการและโครงสร้างองค์การ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการบริหาร และผลได้ผลเสียขององค์การ
        การบริหารความเสี่ยงโดยมีโครงสร้างองค์การ กระบวนการ และวัฒนธรรมองค์การ ประกอบเข้าด้วยกันและมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่

        1. ผสมผสานและเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ เพราะเป็นกลไกส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนไปสู่การกำกับดูแลกิจการที่ดี
        2. การบริหารความเสี่ยงควรสอดคล้องกับแผนการต่างๆขององค์การ
        3. พิจารณาความเสี่ยงทั้งหมด โดยครอบคลุมความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การ
        4. ความเสี่ยงโดยรวมขององค์การ ได้แก่ ความเสี่ยงเกี่ยวกับกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงเกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน (Operational Risk) ความเสี่ยงเกี่ยวกับการรายงานทุกประเภท รวมทั้งรายงานทางการเงิน (Financial Risk) และความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (Compliance Risk) ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเสียหาย ความไม่แน่นอน และโอกาส รวมถึงการมีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ และความพึ่งพอใจของผู้มีส่วนได้เสียอย่างสำคัญ
        5. การบริหารความเสี่ยงมีความคิดแบบมองไปข้าง โดยบ่งชี้ปัจจัยของความเสี่ยงว่าเหตุการณ์ใดที่อาจจะเกิดขึ้นที่มีผลทางลบและมีผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
        6. ได้การสนับสนุนและมีส่วนร่วม โดยทุกคนในองค์การตั้งแต่ระดับกรรมการ ผู้บริหารระดับสูงและพนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความสำเร็จของเป้าประสงค์ หลักพันธกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์การ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การจัดการความเสี่ยงขององค์การ

          COSO (Committee of Sponsoring Organizations of  Treadway  Commission) ได้เสนอแนวทางใหม่ที่เรียกว่า การจัดการความเสี่ยงขององค์การ (Enterprise Risk Management : ERM) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยงในมุมมองของภาพที่เป็นองค์รวมแบบบูรณาการทั่วทั้งองค์การ

          ทุกองค์การไม่ว่าจะเป็นองค์การที่หวังผลกำไร องค์การทางการกุศล หรือหน่วยงานของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ทุกองค์การนั้นต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนและความท้าทายทางการบริหาร เพื่อที่จะกำหนดระดับของความไม่แน่นอนที่สามารถเตรียมพร้อมในการยอมรับในความเสี่ยงเป็นกรอบความคิดทางการบริหารเพื่อที่จะจัดการกับสภาวการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนอย่างมีประสิทธิภาพและเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง โอกาสและการเพิ่มความสามารถในการสร้างคุณค่าได้อย่างแท้จริงในหลักการของการบริหารเชิกรุกหรือการบริหารความเสี่ยงภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในการสร้างคุณค่าเพิ่มระยะยาวให้กับองค์การและสังคม


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของการจัดการความเสี่ยงขององค์การ

              ไม่มีองค์การใดไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชนสามารถดำเนินการภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปราศจากความเสี่ยงได้องค์การที่ต้องดำเนินในสภาวะแวดล้อมดังกล่าว การจัดการความเสี่ยงจะช่วยให้ฝ่ายบริหารจัดการกับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี เพื่อก้าวสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้อย่างสมเหตุสมผล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วันพีชดุ๊กดิ๊ก

กรอบการบริหารความเสี่ยง

             กรอบการบริหารความเสี่ยงจะช่วยให้ทุกหน่วยงานในองค์การมีวิธีการในการระบุ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงในทิศทางเดียวกัน อันจะส่งผลให้การบริหารความเสี่ยงเกิดประสิทธิผลสูงสุดกรอบการบริหารความเสี่ยงประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้

            1. วัฒนธรรมองค์การ (Culture)
            2. โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง (Structure)
            3. กระบวนการ (Process)
            4. ปัจจัยพื้นฐาน (Infrastructure)
           
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


🍗 สืบค้นวันที่  13 ธันวาคม 2561


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น