💦การพัฒนางาน💦






1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ
2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอดเมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง
3. เพื่อพัฒนากระบวนการท
างาน อย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน
4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมทที่ไม่ทันสมัย
ขัดต่อความเจริญขององค์การโดยมุ่งเน้นที่ผลส
าเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ
5. มุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคลเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆกัน
6. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด
มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะท าการตัดสินใจ
ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ
7. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคน
ให้ตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อต าแหน่งและหน้าที่



1. ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่
2.
ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์
3.
การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม
4.
ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ
5.
ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
6.
ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ
7.
ผลจากวิธีการส ารวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ
8.
ผลจากระบบเทคนิคและสังคม


การปรับปรุงและพัฒนาการทำงานจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบมิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น
1. การปรับปรุงและพัฒนาการทำงานจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
2. ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบรับรู้
เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นลง
มือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล
3. การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบายเป้าหมายขององค์การ
4. การปรับปรุงและพัฒนาการท
างานต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน
5. เทคนิคการปรับปรุงและพัฒนาการท
างานที่น ามาใช้ ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในการค์ด้วย
6. มุ่งพัฒนาทีมงานเน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล



1. การยอมรับปัญหา
ก่อนที่การปรับปรุงและพัฒนาการท
างานจะเริ่มต้นได้สมาชิกบางคนภายในองค์การ จะต้องยอมรับปัญหาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงก่อนสมาชิกภายในองค์การจะต้องรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจ
าเป็นต้องเกิดขึ้นถ้าปราศจากสิ่งเหล่านี้แล้ว
กระบวนการการพัฒนาองค์การก็ไม่สามารถเริ่มต้นได้
2. การวิเคราะห์ปัญหา
การปรับปรุงและพัฒนาการทำงาน
จะต้องอยู่บนรากฐานของการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวพันกับงานของสมาชิกภายในองค์การอย่างมีระบบ
เนื่องจากการปรับปรุงและพัฒนาการท างานจะเป็นกระบวนการของความร่วมมือร่วมใจ
การมีส่วนร่วมของสมาชิกภายในองค์การอย่างจริงจัง เทคนิคการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้กันมากได้แก่
2.1
การสัมภาษณ์การสัมภาษณ์จะเป็นเทคนิคการรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาองค์การมากที่สุดเพราะมีความคล่องตัวมากในระหว่างการสัมภาษณ์
สมาชิกขององค์การสามารถกล่าวถึงแหล่งที่มาของปัญหาหรือความยุ่งยากภายในองค์การได้อย่างเสรี
2.2
แบบสอบถามแบบสอบถามจะถูกสร้างขึ้นเพื่อการมุ่งปัญหาที่ส าคัญภายในองค์การแบบสอบถามจะมีข้อดีคือ
การรวบรวมข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันจ านวนมากได้ภายในเวลาระยะสั้น
ความคิดเห็นของสมาชิกภายในองค์การ
สามารถรวบรวมได้โดยใช้คำถามมาตรฐาน คำตอบของสมาชิกภายในองค์การจะถูกวัดโดยใช้มาตราส่วน
ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาตรฐานเป็นตัวเลข จะช่วยให้การวิเคราะห์ปัญหาขององค์การง่ายขึ้น
แบบสอบถามจะมีข้อเสียบางอย่างเช่น ขาดความคล่องตัว เราไม่อาจจะรู้ได้ว่า คำตอบของเขาถูกต้องหรือไม่
2.3
การสังเกตที่ปรึกษาฯสามารถรวบรวมข้อมูลภายในองค์การได้โดยใช้การสังเกต จากบรรยากาศ
โดยทั่วไปภายในองค์การที่ปรึกษาฯ
สามารถมองเห็นปัญหาภายในองค์การได้
2.4
ข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลเพิ่มเติมหมายถึงแหล่งข้อมูลอื่นๆ ภายในองค์การ
ที่ไม่ไดถูกรวบรวมอย่างเปิดเผย
เพื่อความมุ่งหมายของการวิเคราะห์ปัญหาขององค์การเช่น อัตราการขาดงาน
อัตราการออกจากงานอัตราการผลิต และอัตราของเสียเป็นต้น

3.การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)

4.การวางแผนดำเนินงาน (Action
Planning)
เมื่อปัญหาการทำงานได้ถูกระบุและเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขแล้ว ขั้นตอนต่อไปของการปรับปรุงและพัฒนาการทำงาน คือการวางแผนดำเนินงานเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการทำงาน

5. การเลือกใช้เทคนิคการปรับปรุงและพัฒนาการทำงาน
เทคนิคการปรับปรุงพัฒนาการท
างานจะมีอยู่หลายแบบ แต่ที่ถูกน ามาใช้กันแพร่หลายมากที่สุด คือเทคนิคการปรับปรุงพัฒนาการทำงานระดับบุคคลและเทคนิคการปรับปรุงพัฒนาการทำงานระดับกระบวนการ เทคนิคระดับบุคคลจะถูกนำมาใช้เมื่อการวิเคราะห์ปัญหาสรุปได้ว่า ปัญหาของการทำงานเกิดจากการขาดความสามารถ และ/หรือ
แรงจูงใจของสมาชิกขององค์การส่วนเทคนิคระดับกระบวนการจะถูกนำมาใช้เมื่อปัญหาของการท างานเกิดขึ้น
จากกระบวนการที่เกี่ยวพันระหว่างกันของบุคคลและกลุ่มภายในองค์การ
6. การประเมินผล (Evaluation)
ขั้นตอนสุดท้ายของ
การพัฒนาคุณภาพงานและการปรับปรุงกระบวนงาน คือ การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์การ
ภายหลังจากการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การแล้ว
ข้อมูลจะต้องถูกเก็บรวบรวมเพิ่มเติมเพื่อการประเมินผลว่า ปัญหาการท
างานได้ถูกแก้ไขหรือถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้วหรือไม่
ถ้ายังไม่ดีขึ้นก็ต้องกลับไปวิเคราะห์ปัญหากันใหม่ดังนั้นนอกจากการประเมินผลจะถูกมองว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของ
การพัฒนาคุณภาพงานและการปรับปรุงกระบวนงาน แล้วการประเมินผลจะถูกมองว่าเป็นการหมุนรอบกระบวนการพัฒนาองค์การกลับไปยังขั้นตอนของการวิเคราะห์ปัญหาด้วย
ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับการวิเคราะห์ปัญหาแบบ QC
นั่นเอง

🍤ขอขอบคุณ http://www.qcc.egat.co.th/docs/qcc57/articles/qcc57-article-018.pdf
🍰สืบค้นวันที่ 27 ธันว่าคม 2561
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น